ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
     ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา


การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (2563, สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา)

       1) เพื่อศึกษารูปแบบ กลไก องค์ประกอบ และกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....  2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภารกิจ อำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....  3) เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมความพร้อมของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในการกำหนดนโยบายหรือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ (Area Based Education)
        ดาวน์โหลดเอกสาร



การศึกษาระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษา (2562, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

       1) เพื่อศึกษาระบบและนโยบายการบริหารภาครัฐในด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษาในต่างประเทศและของประเทศไทย เน้นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพิจารณาทั้งมิติสังคมและเศรษฐศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมประเด็นสาคัญและตอบคาถามการวิจัย อันจะนาไปสู่การจัดทานโยบายที่นาไปใช้ได้จริง ลดความเหลื่อมล้า เหมาะสม มีประสิทธิภาพและ/หรือประสิทธิผล  2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนผ่าน ในการปรับระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารจัดการที่ลดความเหลื่อมล้า เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้สาหรับประเทศไทย  3) เพื่อจัดทาข้อเสนอทางเลือกนโยบายและเชิงยุทธศาสตร์ในการปรับระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการศึกษา ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารจัดการที่ลดความเหลื่อมล้า เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้สาหรับประเทศไทย
        ดาวน์โหลดเอกสาร



รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา (2562, สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา)

       1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์กลไกที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษา กรณีศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ3. เพื่อศึกษากลไกในการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice) ของไทย4. เพื่อพัฒนากลไกและรูปแบบในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษาของไทย
        ดาวน์โหลดเอกสาร