ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (2563,สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา)

วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษารูปแบบ กลไก องค์ประกอบ และกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....  2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภารกิจ อำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....  3) เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมความพร้อมของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในการกำหนดนโยบายหรือแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ (Area Based Education)
รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคประชาสังคม ผู้มีส่วนได้เสีย แบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ 1. รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมระดับชาติ มีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ องค์ประกอบ 1) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ 2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง 3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง 4) กรรมการโดยตำแหน่ง 7 คน (1)ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2)ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (3)ปลัดกระทรวงมหาดไทย (4)ปลัดกระทรวงแรงงาน (5)ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (6)ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (7)ผู้อำนวยการสานักงบประมาณ 5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 12 คน (1)ด้านกฎหมาย (2)ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (3)ด้านการศึกษาเพื่อคุณวุฒิตามระดับ (4)ด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเอง (5)ด้านการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (6)ด้านข้อมูลสารสนเทศ (7)ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน (8)ด้านคนพิการ (9)ด้านบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ (10)ด้านการเงินการคลังหรือเศรษฐศาสตร์ (11)ผู้แทนภาคเอกชน (12)ประชาชนซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือเป็นการทั่วไปว่าเป็นผู้ชำนาญในภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ (กรรมการและเลขานุการ) และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ 2 คน 7) คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม ดังนี้ (1)คณะกรรมการศึกษาและวิจัย (2)คณะกรรมการยกร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ (3)คณะกรรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา (4)คณะกรรมการติดตามดูแลการจัดการศึกษา (5)คณะกรรมการอื่นๆ (คณะกรรมการขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายการศึกษา/สมัชชาการศึกษา)  2. รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมระดับจังหวัด มีคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาจังหวัด องค์ประกอบ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัด อำนวยความสะดวกและจัดให้มีการประชุมร่วมกัน (รับทราบ/แจ้ง/จัดประชุม) 2) ที่ประชุมเลือกผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม 3) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาของรัฐทุกแห่ง 4) คณะบุคคล 5) หน่วยงานของรัฐ 6) เอกชน 7) ศึกษาธิการจังหวัด/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นฝ่ายเลขานุการ  3.รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมระดับสถานศึกษา มีสถานศึกษา องค์ประกอบ 1) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา 2) คณะกรรมการสถานศึกษา มีองค์ประกอบอย่างน้อย (1) ผู้แทนผู้ปกครอง (2) ผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา (3) ผู้แทนองค์กรศาสนา (4) ผู้แทนภาควิชาการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ (5) ผู้แทนองค์กรชุมชน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน (6) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (7) ผู้แทนครูภูมิปัญญาไทย/ปราชญ์ชาวบ้าน (8) ผู้แทนศิษย์เก่า (9) ผู้แทนนักเรียน (สภานักเรียน) (10) ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะ
๑) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่ทรงพลัง สมัชชาการศึกษาจะต้องสร้างพลังการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาของพื้นที่ ส่งเสริมการสร้างความเป็นหุ้นส่วนและภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ในลักษณะการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผลตามเป้าหมายของแผนงาน  ๒) เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของพื้นที่ เพื่อวางแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ รวมทั้งการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน องค์กรภาคส่วนต่าง ๆ  ๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยมีกลไกของคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ขับเคลื่อนและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษา  ๔) สร้างความเข้มแข็งของบุคคลซึ่งทำหน้าที่ “ข้อต่อ” หรือ “ตัวเชื่อมประสาน” ระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและพื้นที่หรือระหว่างหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ อาจเป็นบุคคลหรือหน่วยงานทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความเข้าใจการทางานร่วมกัน โดยลักษณะบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีสามารถดำเนินงานกิจกรรมเครือข่าย/กิจกรรมสมัชชาได้ มีลักษณะสาคัญ ๕ ข้อ ได้แก่ (๑) นักยุทธศาสตร์ (๒) นักวิชาการ  (๓) นักจัดการ (๔) นักประสาน และ (๕) นักสื่อสาร นอกจากนี้ต้องเป็นบุคคลที่มีความเสียสละ มีจิตอาสาในการเป็น “ข้อต่อ” ประสานงานทั้งในระดับบุคคล องค์กรต่าง ๆ เพื่อให้กลไกของการมีส่วนร่วมดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ๕) ส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมที่จะเกิดขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ได้แก่ (๑) กลไกการมีส่วนร่วมระดับสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา (๒) กลไกการมีส่วนร่วมระดับจังหวัด/พื้นที่ (๓) กลไกการมีส่วนร่วมระดับชาติ คือ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ  ๖) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาควรเร่งสร้างและกระชับความสัมพันธ์กับเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทางานร่วมกันในอนาคต เช่น ภาคีเครือข่ายการศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการจนประสบผลสาเร็จ และภาคีเครือข่ายที่สนใจและมีความพร้อมที่จะพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่  ๗) รัฐควรจัดให้มีการกระจายบทบาททางการศึกษาหรือกระจายอำนาจในการบริหารจัดการและการตัดสินใจเชิงนโยบายในระดับพื้นที่อย่างแท้จริง เช่น ระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด  ๘) รัฐควรออกกฎหมายหรือกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการศึกษาตามสภาพความต้องการของพื้นที่ โดยให้สิทธิในการบริหารจัดการศึกษาเชิงพื้นที่  ๙) ในอนาคตอาจจัดให้มี/มอบหมายกลุ่มงานหรือหน่วยงานในระดับจังหวัดที่ทำหน้าที่ประสานงาน และสร้างกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูล ให้ข้อมูล ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน เพื่อการจัดทำรายงานผลการปฏิรูปการศึกษาในแต่ละปีงบประมาณ
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานส่วนภูมิภาค และสถานศึกษา
ระดับการศึกษา
     ประถมศึกษา+มัธยมศึกษาตอนต้น+มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระบบการศึกษา
     การศึกษาในระบบ
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.6
แผนแม่บท 11 แผนย่อย 3.1 แนวทางการพัฒนา 2)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 1 ประเด็น 1.2 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.6 แนวทางการพัฒนา 6.3

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
            6. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
      แผนย่อยของแผนแม่บท 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
            3.1 แผนย่อยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 1
            1.2 การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย