ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
การศึกษาระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษา (2562,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาระบบและนโยบายการบริหารภาครัฐในด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษาในต่างประเทศและของประเทศไทย เน้นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพิจารณาทั้งมิติสังคมและเศรษฐศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมประเด็นสาคัญและตอบคาถามการวิจัย อันจะนาไปสู่การจัดทานโยบายที่นาไปใช้ได้จริง ลดความเหลื่อมล้า เหมาะสม มีประสิทธิภาพและ/หรือประสิทธิผล  2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนผ่าน ในการปรับระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารจัดการที่ลดความเหลื่อมล้า เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้สาหรับประเทศไทย  3) เพื่อจัดทาข้อเสนอทางเลือกนโยบายและเชิงยุทธศาสตร์ในการปรับระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการศึกษา ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารจัดการที่ลดความเหลื่อมล้า เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปได้สาหรับประเทศไทย
รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษา 1. รูปแบบที่ 1: Initial Demand-side เป็นรูปแบบที่เสนอให้หน่วยงานกลาง ปรับการสนับสนุนงบประมาณจากด้านอุปทานมาสู่ด้านอุปสงค์ให้มากขึ้น โดย 1) สนับสนุนงบประมาณผ่านด้านอุปทาน เป็นการสนับสนุนงบประมาณโรงเรียน เฉพาะงบบุคลากร และงบลงทุน เช่น สิ่งก่อสร้าง ครุภัณฑ์ เป็นต้น 2) สนับสนุนงบประมาณผ่านด้านอุปสงค์ คือ งบอุดหนุนรายหัวผู้เรียนรวมกัน และงบค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เป็นการจัดงบประมาณแบบรายหัวผู้เรียน ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์และกำหนดอัตราการอุดหนุนรายหัวให้ชัดเจนและเหมาะสม 2. รูปแบบที่ 2 : Semi Demand-side การบริหารจัดการยังเป็นระบบราชการ โรงเรียนยังเป็นโรงเรียนของรัฐ และหน่วยงานกลางจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่สู่โรงเรียนผ่านด้านอุปสงค์มากขึ้นกว่ารูปแบบที่ 1 ซึ่งงบประมาณด้านอุปสงค์นี้ ครอบคลุม 1) งบประมาณบุคลากร 2) งบประมาณดำเนินงาน และ 3) งบประมาณอุดหนุนรายหัวผู้เรียน โดยทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นการสนับสนุนงบประมาณตามหัวผู้เรียน และยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านอุปทานเพื่อการพัฒนาโรงเรียน ยกระดับคุณภาพตามทิศทางการพัฒนาโรงเรียน 3. รูปแบบที่ 3 : Full Demand-side ระบบบริหารโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ มีหน้าที่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ตามกรอบมาตรฐาน มีอิสระในการบริหารวิชาการ บุคคล งบประมาณ และการบริหารทั่วไปตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และมีรูปแบบการกากับดูแล โดยคณะกรรมการโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากภาคเอกชน และชุมชนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความรับผิดชอบในฐานะหน่วยผลิตการบริการทางการศึกษา และสามารถให้บริการการศึกษาแก่ผู้เรียนด้วยความรับผิดชอบต่อคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้ระบบการบริหารจัดการการศึกษาและสามารถแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยมีรัฐ (กระทรวงศึกษาธิการ) เป็นผู้กากับให้กลไก การตลาดทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐควรต้องมีการดำเนินงานภายใต้หลักการ 1) รัฐควรเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้จัดการการศึกษา (Education Provider) เป็นหลัก มาเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) 2) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลที่เข้มแข็ง 3) รัฐควรต้องมีกลไกหรือเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมในการกำกับบทบาทและภารกิจของโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนและของรัฐ 4) ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการรับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ในส่วนที่เกินกว่าคุณภาพมาตรฐาน ที่รัฐพึงให้แก่ผู้เรียนทุกคน 5) การสนองทุนเพื่อการศึกษา รัฐควรให้สถานศึกษาจัดเก็บค่าเล่าเรียน (Fee Financing) 6) รัฐจัดให้มีทุนให้เปล่า (Grants) สาหรับนักเรียนยากจน ด้อยโอกาส แต่มีความสามารถในการเรียน 7) รัฐควรสนับสนุนให้สถานศึกษากู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ หากสถานศึกษามีแผนการลงทุนในการพัฒนาสถานศึกษา

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอการปรับระบบการบริหารภาครัฐด้านทรัพยากรเพื่อการศึกษา 1) การปรับเปลี่ยนจากรูปแบบปัจจุบันไปสู่รูปแบบที่ 3 ในแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Change) เนื่องจากโรงเรียนทั้งหมดในประเทศมีจำนวนกว่าสามหมื่นโรง ในจำนวนนี้เกินครึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก การพัฒนาโรงเรียนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง จำเป็นต้องมีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนมากเพื่อเพิ่มศักยภาพ และให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งด้านวิชาการ บุคคล และงบประมาณมากขึ้น ยกเว้นโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารในพื้นที่การคมนาคมไม่สะดวก เช่น บทพื้นที่สูง เกาะแก่งต่าง ๆ หรือพื้นที่เสี่ยงอันตราย สำหรับโรงเรียนอื่น ๆ ควรต้องมีการศึกษาเพื่อกำหนดเกณฑ์ด้านจำนวนนักเรียน จำนวนครู ที่พอเหมาะ เพื่อให้โรงเรียนสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้กลไกทางงบประมาณในการจัดสรรเพิ่มเติมที่สามารถพัฒนาโรงเรียนต่าง ๆ เหล่านี้ไปสู่รูปแบบ 1, 2 และ 3 ต่อไปได้ 2) การปรับเปลี่ยนจากรูปแบบปัจจุบันไปสู่รูปแบบที่ 3 อย่างทันที (Radical Change) สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่หรือขนาดใหญ่พิเศษที่คาดว่า น่าจะมีความพร้อมและศักยภาพในการพัฒนาไปสู่รูปแบบที่ 3 ได้ทันที โรงเรียนที่สามารถดำเนินการได้ เช่น โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นนิติบุคคล และมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษาอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับกลไกการจัดการสนับสนุนจากรัฐด้วยการอุดหนุนรายหัว มีการกำหนดเกณฑ์ และประเมินโรงเรียนที่ต้องการปรับมาเป็นรูปแบบที่ 3 เช่น (1) มีแผนพัฒนาโรงเรียน (2) มีทรัพยากรที่เหมาะสม มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ด้วยเกณฑ์อัตราส่วนครูต่อนักเรียนที่เหมาะสม (ควรต้องมีการคานวณเพื่อหาเกณฑ์ต่อไป เช่น สัดส่วนครูต่อนักเรียน เท่ากับ 1:20) (3) บุคลากรทุกคนได้ปฏิบัติงานตรงตามความรู้ความสามารถ (4) โรงเรียนมีการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป็นต้น โรงเรียนของรัฐ (ที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่) ที่มีขนาดใหญ่ สามารถปรับไปสู่รูปแบบที่ 3 ได้ทันที เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนมากพอ (Economies of Scale) ปรับกลไกการจัดสรรงบประมาณผ่านด้านอุปสงค์ มีศักยภาพในการบริหารจัดการการศึกษาให้มีคุณภาพ และสมัครใจที่จะเป็นโรงเรียนในกำกับของรัฐที่มีอิสระในการบริหารจัดการทั่วไป วิชาการ งบประมาณ และบุคคล และต้องผ่านการประเมินดังกล่าวข้างต้นด้วย  2. ข้อเสนอเชิงนโยบาย 1) การปรับ/ทบทวนโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา 2) นโยบายการยกระดับคุณภาพโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 2.1) การริเริ่มโครงการใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียน 2.2) การเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการให้แก่โรงเรียน 3) การกระจายอานาจในการบริหารจัดการสู่โรงเรียน 4) การปฏิรูปการคลังด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพการจัดการศึกษา 5) การปรับระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) 6) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอซีทีและดิจิทัล และสร้างระบบศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศด้านการศึกษาของประเทศ 3.ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ 1) การปรับระบบบริหาร โดยการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่โรงเรียน 2) การปรับระบบบริหารบุคคล 3) การปรับระบบการจัดสรร และการระดมทุนเพื่อการศึกษา 4) การปรับระบบข้อมูลและฐานข้อมูลทางการศึกษา 
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
ระดับการศึกษา
     ประถมศึกษา+มัธยมศึกษาตอนต้น+มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระบบการศึกษา
     การศึกษาในระบบ
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 4 ประเด็น 4.1
แผนแม่บท 12 แผนย่อย 3.1 แนวทางการพัฒนา 3)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 3 ประเด็น 3.1 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.3
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.6 แนวทางการพัฒนา 6.4

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
            1. การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ
      แผนย่อยของแผนแม่บท 12 การพัฒนาการเรียนรู้
            แผนย่อยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 3
            3.1 การดำเนินการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            11. การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ