ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
รูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา (2562,สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์กลไกที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษา กรณีศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. เพื่อศึกษากลไกในการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice) ของไทย
4. เพื่อพัฒนากลไกและรูปแบบในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายการศึกษา/ สมัชชาการศึกษาของไทย

รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานภาคีเครือข่าย/ สมัชชาการศึกษา ประกอบด้วย 3 ระดับ
(1) รูปแบบการจัดการกลไกเชิงระบบการมีส่วนร่วม เครือข่ายระดับจังหวัด ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน
1. โครงสร้างหลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การศึกษา ระดับจังหวัด/ เขตพื้นที่การศึกษา (2) งานบริหารเครือข่ายและการจัดการทรัพยากรการศึกษา (3) คณะอนุกรรมการ 5 คณะ และ (4) ภาคีเครือข่าย
2. โครงสร้างรอง ได้แก่ (1) อบจ. (2) กิจกรรมของแต่ละพื้นที่ และ (3) กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ
3. ส่วนสนับสนุน ได้แก่ (1) การประสานงาน (2) อปท. (3) อำเภอ (4) ตำบล (5) จังหวัด และ กศจ.
(2) รูปแบบการจัดการกลไกเชิงระบบการมีส่วนร่วม เครือข่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน
1. โครงสร้างหลัก ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การศึกษา ระดับจังหวัด/ เขตพื้นที่การศึกษา (2) งานบริหารเครือข่ายและการจัดการทรัพยากรการศึกษาในระดับพื้นที่ และ (3) ภาคีเครือข่าย
2. โครงสร้างรอง ได้แก่ (1) เขตพื้นที่การศึกษา (นโยบายการศึกษา) (2) อปท. (อบต./เทศบาล) (3) คณะอนุกรรมการ 5 คณะ (4) กิจกรรม (ประยุกต์) ของแต่ละพื้นที่ และ (5) กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ
3. ส่วนสนับสนุน ได้แก่ (1) การประสานงาน (2) สถานศึกษา (3) อำเภอ (ส่วนราชการระดับอำเภอ) และ (4) ตำบล 
(3) รูปแบบการจัดการกลไกเชิงระบบการมีส่วนร่วม เครือข่ายระดับตำบล (หน่วยย่อยที่สุดเชิงพื้นที่) ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน
1. โครงสร้างหลัก (บทบาทหลัก) ได้แก่ โรงเรียน
2. โครงสร้างรอง (บทบาทกำกับดูแล) ได้แก่ (1) งานบริหารเครือข่ายและการจัดการทรัพยกรการศึกษาในพื้นที่ (2) อบต. (3) การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (4) กิจกรรม (ประยุกต์) ของแต่ละโรงเรียน (5) ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ (ติดตามงาน) (6) คณะอนุกรรมการ 5 คณะ
3. ส่วนสนับสนุน ได้แก่ (1) เขตพื้นที่ (เชื่อมโยงนโยบายการศึกษา)  (2) ตำบล (กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน (3) การประสานงาน

ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยรูปแบบ (1) ระดับจังหวัด
1. ผวจ. เป็นกลไกเชื่อมโยงหลักในฐานะประธานสมัชชาการศึกษาระดับจังหวัด
2. อบจ. เป็นหลักในการบริหารเครือข่าย
3. กำหนดระบบกลไกการขับเคลื่อนเชิงโครงสร้าง อันประกอบด้วย 4 กลไกย่อยที่ทำงานประสานกัน คือ (1) ยุทธศาสตร์การศึกษา และภาคีเครือข่ายเป็นแกนสำคัญในการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (2) งานบริหารเครือข่ายและการจัดการทรัพยากรทางการศึกษาต้องขับเคลื่อนด้วย อปท. อบจ. อำเภอ และตำบล (3) กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ เป็นผู้รับช่วงต่อเพื่อให้กิจกรรมขยายไปตามเป้าหมายในแต่ละประเด็น (4) ผวจ. และ กศจ. สนับสนุนการดำเนินงานในทุกด้าน โดยมีคณะอนุกรรมการ 5 คณะเป็นผู้ขับเคลื่อนตั้งแต่ฐานล่าง เพื่อให้ความต่อเนื่องและยั่งยืน
ปัจจัยรูปแบบ (2) ระดับอำเภอ
1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลไกเชื่อมโยงหลักในการสนับสนุนการทำงานในเขตพื้นที่ และของคณะอนุกรรมการ 5 คณะ
2. สถานศึกษาต้องเชื่อมโยง ประสานงานกับ อบต./ เทศบาล/ ภาคีเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ
3. กำหนดระบบกลไกการขับเคลื่อนเชิงโครงสร้าง อันประกอบด้วย 4 กลไกย่อยที่ทำงานประสานกัน คือ (1) ยุทธศาสตร์การศึกษา และภาคีเครือข่ายเป็นแกนสำคัญในการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (2) งานบริหารเครือข่ายและการจัดการทรัพยากรทางการศึกษาต้องขับเคลื่อนด้วย อปท. ได้แก่ อบต./ เทศบาล และตำบล ผ่านการประสานงานร่วมกับสถานศึกษา (3) กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ เป็นผู้รับช่วงต่อเพื่อให้กิจกรรมขยายไปตามเป้าหมายในแต่ละประเด็น (4) อำเภอ เขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการ 5 คณะ เป็นผู้กระตุ้นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การศึกษา และแผนปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในพื้นที่
ปัจจัยรูปแบบ (3) ระดับตำบล
1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้เชื่อมต่อการดำเนินงานและสนับสนุนคณะอนุกรรมการ 5 คณะ และประสานเชื่อมโยงในพื้นที่กับภาคีเครือข่าย และสถานศึกษา
2. กำหนดระบบกลไกการขับเคลื่อนเชิงโครงสร้าง อันประกอบด้วย 3 กลไกย่อย คือ (1) สถานศึกษาเป็นหน่วยปฏิบัติการ โดยประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายและดำเนินการต่อยุทธศาสตร์การศึกษาในระดับพื้นที่ (2) อบต. และตำบล เชื่อมโยงกับเขตพื้นที่การศึกษาในการสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การศึกษา เชื่อมโยงกับคณะอนุกรรมการ 5 คณะในงานบริหารเครือข่ายและการส่งข้อมูลต่างๆ (3) คณะอนุกรรมการในระดับตำบล 5 คณะและภาคีเครือข่ายร่วมกันผลักดันกิจกรรมประยุกต์ในพื้นที่                                                         1. ปัจจัยความสำเร็จการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนคือ การสร้างพื้นที่ส่วนกลางที่ทุกฝ่ายมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
2. ปัจจัยความสำเร็จการขับเคลื่อนแผนงานโครงการของภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม คือ ระบบปฏิบัติการที่ใช้การนิเทศ แนะนำ ช่วยเหลือ ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมติดตาม ช่วยเหลือ และร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน
3. ปัจจัยความสำเร็จที่เป็นองค์ประกอบให้เงื่อนไขของกลไกขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง คือ คุณสมบัติของสมาชิกเครือข่าย โดยมีองค์ประกอบ 3 ข้อ คือ (1) เป็นผู้มีจิตอาสา (2) เป็นผู้รับผิดชอบ (3) เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะ นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ นักประสาน นักจัดการ และนักสื่อสาร
4. ปัจจัยความสำเร็จระดับสถานศึกษา คือ การนิเทศแบบการมีส่วนร่วมทั้งร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมแก้ปัญหา


เงื่อนไขความสำเร็จ
เงื่อนไขรูปแบบ (1) ระดับจังหวัด
1. เน้นการจัดการเชิงพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างภาครัฐในการบริหารเครือข่าย
2. คณะอนุกรรมการทั้ง 5 คณะแต่งตั้งโดย ผวจ.
3. อบจ. เป็นผู้ดำเนินการหลักในการบริหารเครือข่าย เสนอแผนงาน งบประมาณ และกิจกรรมเครือข่าย
4. กองทุนลดความเหลื่อมล้ำมีบทบาทสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาทุกช่วงวัย
5. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทเชื่อมต่อเชิงพื้นที่ เขตพื้นที่การศึกษา อบต. กองทุนลดความเหลื่อมล้ำ
เงื่อนไขรูปแบบ (2) ระดับอำเภอ
1. เน้นการจัดการเชิงพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างภาครัฐในการบริหารเครือข่าย
2. อปท. (อบต. และเทศบาล) เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการงานบริหารเครือข่ายและการจัดการทรัพยการการศึกษาเพื่อกำหนดกิจกรรมระดับพื้นที่
3. กองทุนลดความเหลื่อมล้ำมีบทบาทสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาทุกช่วงวัย
4. คณะอนุกรรมการ 5 คณะช่วยสนับสนุนงานในระดับพื้นที่
5. ภาคีเครือข่ายเป็นหลักในการเชื่อมต่อพื้นที่ ประสานงานร่วมกับสถานศึกษา และกองทุนลดความเหลื่อมล้ำ
เงื่อนไขรูปแบบ (3) ระดับตำบล
1. เน้นการจัดการเชิงพื้นที่ โดยใช้แนวทางการดำเนินงานภาครัฐเป็นหลัก 
2. โรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในพื้นที่
3. อบต. เป็นหลักในการสนับสนุนด้านการจัดสรรทรัพยกรการศึกษา 
4. ภาคีเครือข่ายกำกับดูแล
5. คณะอนุกรรมการ 5 คณะช่วยสนับสนุน

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ
1. เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม
2. พัฒนาการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการ เนื่องจากเป็นหน่วยสำคัญที่สุดใกล้ชิดกับประชาชนในระดับพื้นที่

กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     หน่วยงานภูมิภาค
ระดับการศึกษา
     ทุกระดับการศึกษา
ระบบการศึกษา
     ทุกระบบการศึกษา
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.6
แผนแม่บท 11 แผนย่อย 3.1 แนวทางการพัฒนา 2)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 1 ประเด็น 1.2 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.6 แนวทางการพัฒนา 3.3

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
            6. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
      แผนย่อยของแผนแม่บท 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
            3.1 แผนย่อยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 1
            1.2 การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
      นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (12 เรื่อง)
            7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21