วัตถุประสงค์
1. สร้างรูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา 2. ปฏิบัติการทดลองใช้รูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา 3. ประเมินและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา
รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1. เป้าหมาย (Goal) เพื่อเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา 2. บริบท (Context) สภาพแวดล้อมในโรงเรียน การสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีวินัยของนักเรียน ซึ่งเป็นบรรยากาศทั้งทางกายภาพและจิตใจของบุคลากรในโรงเรียน มี 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) โรงเรียนมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา 2) ทุกคนในโรงเรียนให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่มีอคติต่อกัน 3) กิจกรรมในโรงเรียนเน้นความร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน 4) มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสร้างวินัยนักเรียน 3. ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ผู้บริหาร 2) ครู 3) นักเรียน และ 4) เครือข่ายความร่วมมือ 4. กระบวนการเสริมสร้างวินัย (Process) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 การวางแผนเสริมสร้างวินัยนักเรียน ขั้นที่ 3 การร่วมกันลงมือปฏิบัติ ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ (1) การบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยครูผู้สอน (2) การจัดทำโครงงานเพื่อเสริมสร้างวินัยฯ โดยนักเรียน (3) การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างวินัยโดยฝ่ายบริหาร และขั้นที่ 4 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และให้ข้อมูลย้อนกลับ 5. ผลผลิต (Output) คือ นักเรียนมีวินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคม ใน 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ 2) รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 3) ขยันรับผิดชอบต่อการเรียน 4) รักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง 5) มีความอดทน เพียรพยายาม 6) ช่วยทำงานบ้าน 7) เคารพเชื่อฟังผู้ปกครอง 8) ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัว 9) ช่วยดูแลรักษาสาธารณสมบัติ 10) ร่วมกิจกรรมของโรงเรียน 11) ร่วมกิจกรรมของชุมชน และมีวินัยด้านการตรงต่อเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวนักเรียนเอง และผู้อื่น 7 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) มาโรงเรียนทันการเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง 2) เข้าเรียนทันเวลา 3) เข้าร่วมกิจกรรมตามเวลา 4) ส่งงาน/การบ้านภายในเวลาที่กำหนด 5) เข้าห้องสอบตรงเวลา 6) ไม่ผิดเวลานัด 7) เมื่อยืมของแล้วส่งคืนตามเวลา 6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา 1) การให้ผลสะท้อนกลับเกี่ยวกับผลงานหรือผลผลิต (Output) 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า (Input) 4) การให้ข้อมูลย้อยกลับเกี่ยวกับบริบท (Context)
ปัจจัยความสำเร็จ
ผู้บริหารและครูเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษา โดยที่ผู้บริหารต้องมีลักษณะสำคัญ คือ มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตรและบริบทของโรงเรียนและชุมชน เพื่อนำไปสู่การออกแบบและการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างวินัยนักเรียน/จัดการเรียนการสอนที่การบูรณาการการเสริมสร้างการมีวินัยเข้าไปในการเรียนการสอน สามารถส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัย ตลอดจนสามารถนิเทศ กำกับ ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะการทำโครงงาน/กิจกรรมเสริมสร้างวินัยนักเรียน
เงื่อนไขความสำเร็จ
1. โรงเรียนที่จะนำเอารูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยนี้ไปใช้ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในขั้นเตรียมพร้อม โดยมีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา ให้มีความตระหนัก เข้าใจและเห็นความสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างวินัยนักเรียน และร่วมกันวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ต่อการเสริมสร้างวินัยของโรงเรียน โดยอาจเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการเสริมสร้างการมีวินัยเข้าไปในการเรียนการสอน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำโครงงานจากภายนอกมาช่วยในการเตรียมความพร้อมดังกล่าว 2. จากการทดลองใช้รูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยฯ ในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก พบว่า โรงเรียนสามารถดำเนินการตามรูปแบบฯ และกลไกฯ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนตระหนักเห็นความสำคัญ และร่วมมือกันในการดำเนินงานตามรูปแบบฯ ดังนั้น โรงเรียนที่จะนำเอารูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยนี้ไปใช้ควรมีการดำเนินการเสริมสร้างวินัยใน 3 แนวทาง คือ การบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน การจัดทำโครงงานเพื่อเสริมสร้างวินัยโดยนักเรียน และการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างวินัยโดยฝ่ายบริหารไปพร้อมๆ กัน โดยให้เป็นไปตามบริบทของโรงเรียน ที่ไม่เน้นการเพิ่มงบประมาณจากงบปกติ 3. จากการทดลองใช้รูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยฯ พบว่า ในระยะแรกโรงเรียนยังไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการ และหลังจากมีการนิเทศ และติดตาม ประเมินผล โดยอาศัยกระบวนการของ PLC เป็นเครื่องมือ ทำให้ผู้บริหารและครูได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ดังนั้น โรงเรียนที่จะนำเอารูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยนี้ไปใช้ ควรมีการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ โดยอาศัยกระบวนการของ PLC เป็นเครื่องมือ เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. รูปแบบ กลไกการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลาที่สร้างขึ้นครั้งนี้ โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนแต่ละขนาดสามารถนำไปปฏิบัติได้ และบังเกิดผลดีแก่นักเรียนในระดับหนึ่ง ดังนั้น ควรมีการเผยแพร่รูปแบบ กลไก และคู่มือการใช้รูปแบบฯ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางมาการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาต่อไป 2. จากผลการวิจัยที่พบว่า ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา ดังนั้น ควรมีการเผยแพร่องค์ความรู้ ดังกล่าวแก่สถานศึกษาทั่วประเทศ เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างวินัยในสถานศึกษาต่อไป
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา+มัธยมศึกษาตอนต้น+มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระบบการศึกษา
การศึกษาในระบบ
รองรับประเด็น
ระบบการจัดการเรียนรู้
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
MQ (Moral Quotient) ความคิดด้านศีลธรรม
สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.2
แผนแม่บท 11 แผนย่อย 3.3 แนวทางการพัฒนา 1)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 5 ประเด็น 5.2
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.3 แนวทางการพัฒนา 3.3
เอกสาร
ดาวน์โหลดเอกสาร
เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
แผนย่อยของแผนแม่บท 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
3.3 แผนย่อยการพัฒนาช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 5
5.2 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (12 เรื่อง)
7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21