ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
แนวทางส่งเสริมเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (2559,สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา)

วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาแนวทางส่งเสริมเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการศึกษา โดยใช้กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาของประเทศ  2) เพื่อจัดทำองค์ความรู้และข้อเสนอการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการศึกษา และสภาวการณ์ปัจจุบันของงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ข้อค้นพบและวิธีการแก้ปัญหา ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย โจทย์การวิจัยในอนาคตที่ตอบความต้องการพัฒนาการศึกษาของพื้นที่  3) เพื่อจัดทำกรอบทิศทางและโจทย์วิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ. 2560 - 2564)
รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายวิจัยทางการศึกษา 1) รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายตามแนวตั้ง 1.1) เครือข่ายตามแนวตั้งแบบไม่เป็นทางการ คือสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแม่ข่ายประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา และขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาในสังกัดให้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาด้วยการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ 1.2) เครือข่ายตามแนวตั้งแบบเป็นทางการ คือสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแม่ข่ายดำเนินการสร้างเครือข่ายวิจัยทางการศึกษาโดยการจัดตั้งคณะทำงานที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ ทำหน้าที่ในการประสานงานกับสถาบันการศึกษา เป้าหมายที่ครอบคลุมในทุกระดับและประเภทการศึกษา รวมทั้งอาจมีการจัดทำ MOU ระหว่างองค์กรเพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อประสานงานระหว่างเครือข่าย และการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในอนาคต โดยอาจมีการจัดการประชุมชี้แจงความเข้าใจ มีการกระจายข่าวสารข้อมูล และมีการจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง  2) รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายตามแนวนอน รูปแบบเครือข่ายที่มีโครงสร้างบริหารจัดการโดยสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นแม่ข่ายดำเนินการประสานกับหน่วยงานทางการศึกษา และสถาบันทางการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษา 
ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยสำคัญในการสร้างและทำงานแบบเครือข่ายวิจัยทางการศึกษา 1) การให้เกียรติ แสดงให้ทุกฝ่ายที่มารวมตัวเป็นเครือข่ายวิจัยทางการศึกษารู้ว่าเป็นผู้มีความสำคัญ มีคุณค่า มีความหมาย ซึ่งการให้เกียรติสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งความคิด ความรู้สึก คำพูด และการกระทำ ให้รู้ว่าทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ 2) การไว้ใจ เป็นความเชื่อใจ ความจริงใจต่อกัน ไม่ระแวงกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายมีความสบายใจ 3) การยอมรับ เปิดใจให้กว้าง และรับฟังความคิดเห็นในทุกระดับ 4) การชื่นชม แสดงความยินดีหรือให้กำลังใจผู้อื่นที่ดำเนินงานแล้วประสบความสำเร็จ เพื่อให้รักษาความสำเร็จและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5) การสร้างประโยชน์ร่วมกัน การดำเนินงานของเครือข่ายวิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ทุกฝ่ายได้รับ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในทางปฎิบัติได้จริง
เงื่อนไขความสำเร็จ
1) การบริหารจัดการเครือข่ายตามแนวตั้ง มีความเหมาสมและประสานความร่วมมือดำเนินการได้ด้วยดี หากมีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ หากไม่มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ ต้องใช้วิธีการมอบหมายให้หน่วยงานการศึกษาอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น สำนักงานเขตการศึกษา องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงสถาบันการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา มีบทบาทดำเนินการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาภายในหน่วยงาน  2) การบริหารจัดการเครือข่ายตามแนวนอน ดำเนินงานด้วยการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายวิจัยทางการศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาระดับพื้นที่ ซึ่งรูปแบบนี้จะมีความเหมาะสมหากต้องการสร้างเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก 
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     สถาบันอุดมศึกษา และสถานศึกษา
ระดับการศึกษา
     ทุกระดับการศึกษา
ระบบการศึกษา
     ทุกระบบการศึกษา
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.3
แผนแม่บท 12 แผนย่อย 3.1 แนวทางการพัฒนา 5) และ
แผนแม่บท 23 แผนย่อย 3.2 แนวทางการพัฒนา 1)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 1 ประเด็น 1.5 และ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.2 แนวทางการพัฒนา 2.3

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
            3. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
      แผนย่อยของแผนแม่บท 12 การพัฒนาการเรียนรู้
            แผนย่อยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
      แผนย่อยของเเผนแม่บท 23 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
            3.2 แผนย่อยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านสังคม
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 1
            1.2 การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
      นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (12 เรื่อง)
            7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21