ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ (2563,สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา)

วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่  2) เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาตามประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาและตามประเภทสถานศึกษา  3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายกระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่
รูปแบบ/โมเดล
กระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ 1) กระบวนทัศน์การพัฒนาครู มีลักษณะสำคัญคือ 1.1) การพัฒนาครูโดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นฐาน (Outcome-based Development) 1.2) การพัฒนาครูตามความต้องการของสถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน (School/Industry/Community-determined Development) 1.3) การพัฒนาครูตามแรงผลักดันและคุณภาพจากภายใน (Quality from within) 1.4) การพัฒนาครูด้วยหลักสูตรเสริมสร้างความก้าวหน้าของครูรายบุคคล (Progressive and Individualized Programming) 1.5) การพัฒนาครูตามความต้องการจำเป็นของครูรายบุคคล (Individual Demand)  2) รูปแบบการพัฒนาครู มีลักษณะสำคัญคือ 2.1) การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง (Action Based Learning) 2.2) การเรียนรู้โดยการทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย (Co-Research with University) 2.3) การเรียนรู้ตามความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Self-Paced Learning) 2.4) การใช้สถานการณ์จำลองผ่านเครือข่ายออนไลน์ (Online Simulation) 2.5) การพัฒนาครูด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านการทำงานหรือการลงมือปฏิบัติจริง ร้อยละ 70 การพัฒนาครูด้วยวิธีการเรียนรู้ผ่านผู้อื่น ร้อยละ 20 และการพัฒนาครูด้วยวิธีการอบรม/สัมมนา ร้อยละ 10 2.6) การเรียนรู้ผ่านชุมชนเครือข่ายออนไลน์ (Online Knowledge Sharing Platform) 2.7) การพัฒนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ตามความต้องการของตัวบุคคล (Online Course: Individual-defined Learning) 2.8) การพัฒนาผ่านเครือข่ายออนไลน์รูปแบบหลักสูตรระยะสั้นด้วยการสะสมเวลาที่เข้ารับการพัฒนา (Micro Certification) 2.9) การเรียนรู้โดยการโค้ชหรือชี้แนะ (Coaching)  3) กลไกการพัฒนาครู คือ “กลไกเครือข่ายเบญจภาคีของสถานศึกษา สถาบันผลิตครู ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และต้นสังกัดของสถานศึกษาระดับประเทศ” 
ข้อเสนอแนะ
1) ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกระบวนทัศน์การพัฒนาครู 1.1) องค์กรระดับกระทรวง ต้องกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาครูที่ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาโดยใช้กระบวนทัศน์ใหม่ 1.2) องค์กรวิชาชีพครู ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาครูเพื่อต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ครอบคลุมกระบวนทัศน์ใหม่ 1.3) องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของครู ต้องกำหนดเกณฑ์การพัฒนาครูเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะที่สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ใหม่ 1.4) หน่วยงานต้นสังกัด ต้องส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตามกระบวนทัศน์ใหม่ และพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตามกระบวนทัศน์ใหม่ 1.5) สถาบันผลิตครู ต้องออกแบบหลักสูตรการพัฒนาครู และดำเนินการพัฒนาครูในพื้นที่ตามกระบวนทัศน์ใหม่ 1.6) สถานศึกษา ต้องสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตามกระบวนทัศน์ใหม่ จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนาครูตามกระบวนทัศน์ใหม่ และพิจารณาความดีความชอบประจำปีสำหรับครูที่มีการพัฒนาตามกระบวนทัศน์ใหม่  2) ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านรูปแบบการพัฒนาครู 2.1) องค์กรระดับกระทรวง ต้องกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาครูที่ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู 2.2) องค์กรวิชาชีพครู ต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาครูเพื่อต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ครอบคลุมรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู 2.3) องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของครู ต้องกำหนดเกณฑ์การพัฒนาครูเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะให้สอดคล้องกับรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู 2.4) หน่วยงานต้นสังกัด ต้องส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตามรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู และพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตามรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู 2.5) สถาบันผลิตครู ต้องออกแบบหลักสูตรการพัฒนาครู และดำเนินการพัฒนาครูในพื้นที่ตามรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู 2.6) สถานศึกษา ต้องสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาตามกระบวนทัศน์ใหม่ จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนาครูตามกระบวนทัศน์ใหม่ และพิจารณาความดีความชอบประจำปีสำหรับครูที่มีการพัฒนาตามรูปแบบใหม่ในการพัฒนาครู  3) ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกลไกการพัฒนาครู 3.1) องค์กรระดับกระทรวง กระทรวงที่มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดกลไกใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาครู นอกจากนี้ ศธจ. ต้องสนับสนุนให้สถาบันผลิตครู ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และต้นสังกัดของสถานศึกษาในระดับจังหวัด และพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาครูตามแนวคิดกลไกใหม่ รวมถึงให้ความร่วมมือและสนับสนุนคุรุสภา และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดกลไกใหม่ 3.2) องค์กรวิชาชีพครู คุรุสภา ต้องร่วมมือกับ กคศ. ศธจ. และหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกลไกใหม่ 3.3) องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของครู ต้องร่วมมือกับ ศธจ. และหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกลไกใหม่ 3.4) หน่วยงานต้นสังกัด ต้องสนับสนุนให้สถาบันผลิตครู ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และต้นสังกัดของสถานศึกษาในระดับจังหวัด และพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดกลไกใหม่ 3.5) สถาบันผลิตครู ต้องร่วมมือกับ กคศ. ศธจ. และหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกลไกใหม่ 3.6) สถานศึกษา ต้องร่วมมือกับ สถาบันผลิตครู กคศ. ศธจ. และหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านการพัฒนาครูตามกลไกใหม่
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย/สถาบันผลิตครู และสถานศึกษา
ระดับการศึกษา
     ประถมศึกษา+มัธยมศึกษาตอนต้น+มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระบบการศึกษา
     การศึกษาในระบบ
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.3
แผนแม่บท 12 แผนย่อย 3.1 แนวทางการพัฒนา 2)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 4 ประเด็น 4.2  
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ไม่สามารถระบุได้
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.3 แนวทางการพัฒนา 3.7

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
            3. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
      แผนย่อยของแผนแม่บท 12 การพัฒนาการเรียนรู้
            แผนย่อยการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 4
            4.2 การพัฒนาวิชาชีพครู
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย