ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
การศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (2560,มหาวิทยาลัยศิลปากร)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายการศึกษา  2. เพื่อให้ได้รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  3. เพื่อให้ได้ร่างกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 1. ความมุ่งหมายของการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 1)ด้านผู้เรียน 1.1)ให้มีคุณลักษณะพื้นฐาน ได้แก่ (1)มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง (2)มีอารมณ์หรือมีสุขภาพจิตดี (3)มีจิตสาธารณะ (4) ความเป็นเลิศตามศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของตนเอง (5)มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการใช้สติปัญญา (6)มีจิตสำนึกรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย (7)ยอมรับสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (8)มีความเป็นประชาธิปไตย (9)มีคุณธรรมจริยธรรม 10)มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (11)มีความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสาร 1.2)คุณลัษณะเฉพาะทางด้านความรู้และทักษะวิชาชีพ 2)ด้านสังคม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3)ด้านสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้  2. หลักการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 1) การศึกษาตลอดชีวิตที่มุ่งเน้นในการตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้สังคมและสถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2) มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาให้แก่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในการกำหนดนโยบาย ระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา 3)มีองค์กรการบริหารจัดการศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล 4) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมสามารถจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามเหมาะสมและความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมจัดตั้งสถานศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา โดยสถานศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ในกรณีที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษยังไม่มีความพร้อมที่จะจัดตั้งสถานศึกษาของตนเองก็ให้ใช้เครือข่ายของสถานศึกษาต่างๆ มาร่วมกันจัดการศึกษาตามนโยบายและความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 6) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งการประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก ในทุกระดับและประเภทการศึกษา 7) มีอิสระในการกำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย 8) มีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา  3. ทรัพยากรสำหรับใช้ในการบริหารจัดการศึกษา 1) การศึกษาระดับปฐมวัย (1)การศึกษาเด็กเล็ก เป็นการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุ 2-3ปี ระยะเวลาศึกษา 1 ปี รัฐบาลควรสนับสนุนเงินงบประมาณและทรัพยากรหรือเป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า (2)การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาหรืออนุบาลศึกษา เป็นการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุ 3-5 ปี ระยะเวลาศึกษา 3 ปี รัฐบาลควรสนับสนุนเงินงบประมาณและทรัพยากร หรือเป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า 2) การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ มีระยะเวลาศึกษา 6 ปี รัฐบาลควรสนับสนุนเงินงบประมาณและทรัพยากร หรือเป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า 3) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (1)การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการศึกษาภาคบังคับ มีระยะเวลาศึกษา 3 ปี รัฐบาลควรสนับสนุนเงินงบประมาณและทรัพยากร หรือเป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า (2)การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา เป็นการศึกษาที่มีระยะเวลาศึกษา 3 ปี รัฐบาล และผู้ปกครองควรร่วมกันสนับสนุนเงินงบประมาณและทรัพยากร 4) การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระยะเวลาศึกษาประมาณ 4-6 ปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่ศึกษา รัฐบาล สถานประกอบการและผู้ปกครองควรร่วมกันสนับสนุนเงินงบประมาณและทรัพยกร 4. กระบวนการบริหารจัดการศึกษา 1) ลักษณะการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีความเป็นอิสระและคล่องตัว จึงควรมีกฎหมายหรือระเบียบรองรับการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีคณะกรรมการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นการเฉพาะ และการบริหารงานบุคคลจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่างเป็นทางการ ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล 2) กระบวนการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (1) กำหนดนโยบายการศึกษาและวางแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและทิศทางการพัฒนาประเทศ (2) จัดตั้งองค์กรการบริหารจัดการศึกษาและสถานศึกษาที่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล (3) ออกกฎหมายหรือระเบียบการบริหารงานบุคคลของครูและบุคคลกรทางการศึกษา (4) ตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย (5) ประสานความร่วมมือด้านการศึกษาและด้านวิชาการกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในและต่างประเทศภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย (6) รายงานผลการบริหารจัดการศึกษาต่อเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และกระทรวงศึกษาธิการ (7) บริหารงบประมาณทางการศึกษาตามกฎหมาย/ระเบียบ 3) แนวการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (1) จัดการศึกษาในระบบระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับ ทุกประเภทสำหรับผู้เรียนในสถานศึกษา จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับผู้เรียนนอกสถานศึกษาตามความต้องการของสถานประกอบการ (2) จัดการศึกษาเพื่อผลิตผู้มีทักษะอาชีพ ไม่เน้นแรงงานไร้ฝีมือ (3) จัดการศึกษาเพื่อการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นสำคัญ (4) จัดการศึกษาสำหรับคนต่างชาติเฉพาะที่เข้า/ออกหรืออยู่ในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น 5. คุณภาพการศึกษา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและสถานศึกษาร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษา แล้วดำเนินการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกตามมาตรฐานการศึกษาที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและสถานศึกษากำหนดขึ้น 
ข้อเสนอแนะ
1. การที่ “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....” จะถูกกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ (Policy Formulation) ได้นั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้น จึงควรจัดประชุมสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ให้แก่คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อให้มีการสนับสนุนการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....  2. หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน ส่วนราชการ และสถานประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ทั้งนี้ เพื่อให้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะถูกนำไปปฏิบัติ (Policy Implementation) ได้อย่างถูกต้อง  3. หลังจากที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ได้ถูกนำไปปฏิบัติแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ว่ามีปัญหา อุปสรรคประการใด เพื่อจะได้นำข้อมูลดังกล่าวไปปรับปรุงให้การนำนโยบายการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) ไปสู่การปฏิบัติประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ระดับการศึกษา
     ทุกระดับการศึกษา
ระบบการศึกษา
     ทุกระบบการศึกษา
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     IQ (Intelligence Quotient) ความรู้ความสามารถ

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.2
แผนแม่บท 11 แผนย่อย 3.3 แนวทางการพัฒนา 4)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 1 ประเด็น 1.2 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.2 แนวทางการพัฒนา 2.1

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
            2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
      แผนย่อยของแผนแม่บท 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
            3.3 แผนย่อยการพัฒนาช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 1
            1.2 การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน เพื่อการจัดการศึกษา
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
      นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (12 เรื่อง)
            7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21