วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการนามาตรฐานสู่การปฏิบัติในระดับนโยบาย ระดับการกากับติดตาม การสนับสนุนส่งเสริม และระดับปฏิบัติ 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทเรียนจากต่างประเทศเกี่ยวกับกลไกการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ 3. เพื่อสังเคราะห์แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ
รูปแบบ/โมเดล
แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ โดยภาพรวม ช่วงที่ 1 ช่วงเชื่อมต่อและหาแนวทางที่เหมาะสม 1) การบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนงาน ใน 7 ประเด็น (1) การจัดทีมงาน/หน่วยประสานงาน สนับสนุน ถอดบทเรียน (2) การประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจเชิงลึก (3) การวิเคราะห์งาน ปรับ เปลี่ยน กลไกสนับสนุน (4) การเตรียมพร้อมบุคลากร (5) การกำกับ ติดตาม ประเมินผล (6) การนำร่องการทำงานเต็มรูปแบบทุกระบบและการสนับสนุน (7) การประเมินคุณภาพการศึกษา และ 2) การปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล (1)ปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุกโดยใช้หลักสูตรเดิม) (2)ปรับเปลี่ยนแนวคิด แนวทางการวัดและประเมินผล ช่วงที่ 2 ช่วงทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติและจัดระบบงาน 1)การทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติ 2) การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนงาน ใน 5 ประเด็น (1) การจัดตั้งคณะทำงาน ที่ดูแลช่วยเหลือ สนับสนุน และประเมินผลในภาพรวม (2) การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การกำกับ ติดตาม ประเมินผลและการสนับสนุน (5) การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา 3)การพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล ใน 4 ประเด็น คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การปรับการเรียนการสอน (จัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก) (3)การปรับการวัดและประเมินผลที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน และ (4) การจัดสื่อ แหล่งเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ และงบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้
ปัจจัยความสำเร็จ
ในการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัตินั้น มีหลักการสำคัญ 7 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 : ทุกภาคส่วนทำงานโดยยึดการมีส่วนร่วม การบูรณาการ การเชื่อมโยงสอดคล้อง และการเรียนรู้ร่วมกันตลอดเส้นทาง การทำงานเพื่อความสมดุล เหมาะสมกับบริบท และมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติ ประการที่ 2 : ทุกองค์กรดำเนินการไปสู่เป้าหมายเดียวกันโดยเพิ่มเติมลักษณะเฉพาะทั้งความแตกต่างของช่วงวัยและความแตกต่างในมิติบริบทสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม โดยมีการส่งต่อการพัฒนาผู้เรียนแต่ละระดับตามเป้าหมาย ประการที่ 3 : ดำเนินการด้วยความตระหนักในความสำคัญ และความเข้าใจที่ชัดเจนถ่องแท้ ในความหมายและนวทางการทำงานที่มุ่งตรงสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้ง 1) คุณลักษณะ 3 ด้าน 2) ค่านิยมร่วม และ 3) คุณธรรม ประการที่ 4 : บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนและผู้สนับสนุนต้องได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสำคัญ มีความตระหนัก เข้าใจ พร้อมทำงานอย่างประสาน สอดคล้องกัน สู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้ง 1) คุณลักษณะ 3 ด้าน 2) ค่านิยมร่วม และ 3) คุณธรรม ประการที่ 5 : เรียนรู้จากบทเรียนที่เป็นรูปธรรมจากการปฏิบัติงานจริง ครอบคลุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกด้าน เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน แก้ไขปัญหาร่วมกัน และนำบทเรียนสู่การทำงานต่อไปอย่างเหมาะสม ประการที่ 6 : การทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติให้เหมาะสมหลังจากใช้ไประยะหนึ่ง จากบทเรียนที่ได้รับจากการปฏิบัติงานจริง และข้อมูลจากการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และส่งผลให้เกิดมาตรฐานการศึกษาของชาติได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ประการที่ 7 : ให้ความสำคัญกับปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 5 ประการ ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาผู้เรียนอันเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการ คือ 1) การบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อนงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน 2) หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ 3) การสร้างความพร้อมทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ / คุณลักษณะของผู้สอน 4) การวัดประเมินผลทุกระดับที่เป็นไปเพื่อการพัฒนาผู้เรียน 5) การจัดสื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ และงบประมาณที่ใช้เพื่อการสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้สอนและผู้เรียนที่เหมาะสมเพียงพอ
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
สถานศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
ระดับการศึกษา
ทุกระดับการศึกษา
ระบบการศึกษา
ทุกระบบการศึกษา
รองรับประเด็น
ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
ทุกด้าน
สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.2
แผนแม่บท 11 แผนย่อย 3.3 แนวทางการพัฒนา 1)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 5 ประเด็น 5.1
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.3 แนวทางการพัฒนา 3.1
เอกสาร
ดาวน์โหลดเอกสาร
เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
แผนย่อยของแผนแม่บท 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
3.3 แผนย่อยการพัฒนาช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 5
5.1 การปรับหลักสูตร พร้อมกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (12 เรื่อง)
7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21