ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
รายงานผลการวิจัยแนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ (2563,มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการนามาตรฐานสู่การปฏิบัติในระดับนโยบาย ระดับการกากับติดตาม การสนับสนุนส่งเสริม และระดับปฏิบัติ  2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทเรียนจากต่างประเทศเกี่ยวกับกลไกการนามาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ  3. เพื่อสังเคราะห์แนวทางการนามาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ
รูปแบบ/โมเดล
1) ช่วงเชื่อมต่อและหาแนวทางที่เหมาะสม ในช่วงนี้มีการดำเนินการ ดังนี้ (1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและเตรียมการนำไปใช้ในสถานศึกษา โดยสถานศึกษาส่วนหนึ่งกำหนดมาตรฐานการศึกษาเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานการศึกษาในระดับการศึกษา (2) การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและการวัดประเมินผลนั้น หน่วยงานส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรเดิม ยกเว้นการอาชีวศึกษาที่มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระยะนี้แนวทางการนำมาตรฐานของชาติสู่การปฏิบัติจะเน้นการจัดการโดยใช้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิด ปฏิบัติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง ใช้แนวทางการวัดและประเมินผลในลักษณะที่เป็นการประเมินผลตามสภาพจริงและการประเมินผลเพื่อการพัฒนาผู้เรียน (3) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก เน้นการดำเนินการตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 และแนวทางที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดไว้อย่างชัดเจน และ (4) การกำกับติดตามและประเมินผลควรจัดระบบแนวทาง การกำกับติดตามที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการตามระบบที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการกำกับติดตาม ประเมินผลการทำงานที่มุ่งเน้นคุณลักษณะผู้เรียน การทำงานในลักษณะกัลยาณมิตร และนำข้อมูลมาใช้ในการช่วยเหลือ แก้ปัญหา ให้การสนับสนุน และนำข้อมูลมาใช้ในการทบทวนมาตรฐานการศึกษาในช่วงต่อไป 2) ช่วงทบทวนมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบงาน มีการดำเนินการแต่ละส่วน ดังนี้ (1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ ในช่วงนี้หน่วยงานต้นสังกัดควรนำข้อมูลการดำเนินการในช่วงเชื่อมต่อและหาแนวทางที่เหมาะสมมาใช้ในการทบทวนมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับร่วมกับสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพิ่มเติมข้อมูลจุดเน้นตามบริบทการทำงานและระดับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย (2) การนำมาตรฐานการศึกษาของชาติแต่ละระดับสู่การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและการประเมินผลนั้น เป็นการนำมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับมาใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีลักษณะยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Centric) โดยคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด ความพร้อม ความสามารถ ปัญหาและความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งความเหมาะสมกับบริบท วิถีชีวิต ภูมิสังคม ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม เชื่อมโยงกับชีวิตจริง (real life) ของผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาความสามารถในการนาความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง (3) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกเน้น การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่เชื่อมโยงสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน การประเมินคุณภาพภายนอกที่เน้นการประเมินคุณลักษณะผู้เรียนจากร่องรอยเชิงประจักษ์ โดยเปิดโอกาสให้สถานศึกษา เลือกระบบ หน่วยงานและผู้ประเมินได้เอง และเน้นการเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาเข้ามาร่วมประเมินคุณภาพ 
ปัจจัยความสำเร็จ
1) การสร้างความเข้าใจ ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีเป้าหมายเดียวกัน 2) การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคลื่อนและประสานงานโดยตรง 3) การใช้มาตรฐานการศึกษาของชาติเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร โดยวิเคราะห์งานและเชื่อมโยงงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา 4) การวางระบบกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ 5) การใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะและค่านิยมตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ 6) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงที่เน้นการประเมินผลเพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาที่กาหนด 7) การนามาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ ผ่านระบบการประกันคุณภาพ 8) การใช้การนาร่อง/ วิจัย และนาผลจากการทำงานเป็นฐานประกอบการตัดสินใจ สำหรับการวางแผนการพัฒนา การกำหนดนโยบายวางแผนการศึกษา และใช้เป็นแนวทางในการกำกับติดตาม การควบคุมคุณภาพการศึกษาของแต่ละระดับ 9) การพัฒนาครูและบุคลากรให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำมาตรฐานการศึกษาของชาติเป็นกรอบในการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยเหลือ สนับสนุน สถานศึกษาในด้านสื่อ แหล่งเรียนรู้ เครือข่าย และเรียนรู้จากตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) การนำมาตรฐานการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยการบูรณาการผลลัพธ์ ที่พึงประสงค์สู่การกำหนดมาตรฐานและเป้าหมายในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีการกำกับ ติดตามตรวจสอบผลลัพธ์ด้านคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. 2.) การกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ ที่มีบทบาทในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย 2. ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการเพื่อการขับเคลื่อน  ช่วงที่ 1 ช่วงเชื่อมต่อและหาแนวทางที่เหมาะสม 1) การจัดทีมงาน หน่วยประสานงาน สนับสนุน ถอดบทเรียน  2) การประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจเชิงลึก 3) การวิเคราะห์งาน ปรับเปลี่ยนกลไกสนับสนุนจุดประสงค์ เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงาน ที่ต่อเนื่องจากงานเดิมสู่งานที่มีเป้าหมายที่กำหนดขึ้นใหม่อย่างราบรื่น เกิดผลเต็มที่ โดยการดำเนินการควรมีลักษณะดังนี้ 3.1) จัดคณะทำงานศึกษามาตรฐานการศึกษาของชาติอย่างละเอียด ชัดเจน โดยเฉพาะ ความหมายของมาตรฐานการศึกษาของชาติที่ครบถ้วน และนำสู่การวิเคราะห์นโยบาย ภารกิจที่หน่วยงานดำเนินการ 3.2) นำข้อมูลมาจัดทำแผนการทำงาน โดยมีการดำเนินการ 3 ลักษณะ คือ 1) ภารกิจที่มีความสอดคล้องในการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการศึกษาระดับที่ดำเนินการโดยตรง 2) ภารกิจที่มีความสอดคล้องในการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการศึกษาระดับค่อนข้างน้อย ควรปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินการให้เหมาะสมมากขึ้น หรืองดดำเนินการ 3) กำหนดนโยบาย จัดภารกิจใหม่ พัฒนาแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษา 3.3) จัดทำแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน นำสู่การติดตามผลการทำงาน และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการทำงานและการจัดสรรงบประมาณ 4) เตรียมพร้อมบุคลากร ให้มีความตระหนัก ความเข้าใจ และคุณลักษณะที่สาคัญพร้อมทำงานอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกัน และสามารถเชื่อมโยงสู่ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่สาคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยอาจจะดำเนินการ ดังนี้ 4.1) วิเคราะห์ภาระงานที่จะดำเนินการ และจัดทำรายละเอียดสมรรถนะของบุคลากรแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะ 4 กลุ่มสาคัญ คือ (1) บุคลากรสนับสนุนทางวิชาการ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ (2) ผู้บริหารการศึกษา (3) ผู้บริหารสถานศึกษา และ (4) ผู้สอน 4.2) ประเมิน ตรวจสอบระดับสมรรถนะของบุคลากร และจัดทำแผนการพัฒนา 5) การกำกับ ติดตาม ประเมินผลและการสนับสนุน 5.1) ผู้ทำหน้าที่ กากับ ติดตาม ประเมินผลมีความเข้าใจชัดเจน และดำเนินการในลักษณะการเน้นบรรยากาศการทำงานที่เป็นไปเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันและการหาทางช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเหมาะสม 5.2) จัดระบบ รูปแบบการกากับ ติดตาม ประเมินผลหลายลักษณะ 6) นาร่องการทำงานเต็มรูปแบบทุกระบบ 6.1)การกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับชาติโดยตรง และเพิ่มเติมมาตรฐานการศึกษาของตนเองที่สอดคล้องกับบริบท และลักษณะตามวัย และให้อิสระในการดำเนินการ  6.2) ดำเนินการ นำร่องในลักษณะการปรับในส่วนการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล และ ระบบบริหารวิชาการ 6.3) นำร่องในส่วนระบบกลไกการประเมินคุณภาพการศึกษาที่เป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561  ช่วงที่ 2 ช่วงทบทวนมาตรฐานการศึกษาของชาติใหม่และจัดระบบงาน 1) จัดตั้งคณะทำงาน ที่ดูแลช่วยเหลือ สนับสนุน และประเมินผลในภาพรวม 2) การประชาสัมพันธ์ เชิงรุกเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ช่วยในการสร้าง ความเข้าใจ และรูปธรรมใน การทำงาน 3) การพัฒนาบุคลากรทุกระดับการศึกษาในทุกสถาบันการศึกษาแต่ละสังกัด โดยมีแนวทาง 3.1) ทบทวนสมรรถนะของบุคลากร และนำสู่การประเมินตนเอง สู่การวางแผนการพัฒนา 3.2) การพัฒนาครูผู้สอนเน้นการพัฒนาในหลายลักษณะ (1) การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (2) การเรียนรู้ร่วมกัน 4) การจัดสื่อ แหล่งเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ และงบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้ โดยต้องจัดสิ่งต่าง ๆ สนับสนุนดังนี้ (1)  สื่อเทคโนโลยี (2) แหล่งเรียนรู้ (3) เครือข่ายการเรียนรู้ (4) งบประมาณสนับสนุนการเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     สถานศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
ระดับการศึกษา
     ทุกระดับการศึกษา
ระบบการศึกษา
     ทุกระบบการศึกษา
รองรับประเด็น
     ระบบการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 3 ประเด็น 4.2
แผนแม่บท 11 แผนย่อย 3.3 แนวทางการพัฒนา 1)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง 5 ประเด็น 5.1 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.1
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.3 แนวทางการพัฒนา 3.1

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
            2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
      แผนย่อยของแผนแม่บท 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
            3.3 แผนย่อยการพัฒนาช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น
      แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องและประเด็นการปฏิรูปที่ 5
            5.1 การปรับหลักสูตร พร้อมกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
      นโยบายหลักรัฐบาล (12 ด้าน)
            8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
      นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล (12 เรื่อง)
            7. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21