ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการศึกษาที่เชื่อมโยงแผนสำคัญของประเทศ
แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2562,มหาวิทยาลัยนเรศวร)

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในการจัดการศึกษา เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นเรื่องการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แก่ผู้เรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชนในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก  2. เพื่อศึกษาวิจัยและนำเสนอรูปแบบแนวทางการให้การศึกษาที่สร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชนในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก  3. เพื่อศึกษาวิจัยผลการใช้รูปแบบแนวทางการให้การศึกษาที่สร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาในพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก  4. เพื่อนำเสนอแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนและชุมชนในพื้นที่ที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน
รูปแบบ/โมเดล
รูปแบบแนวทางการให้การศึกษาและสร้างความตระหนักเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชน   1.หลักการจัดการศึกษา 1) มุ่งให้ผู้เรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชนเกิดความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจัดการศึกษาที่เน้นให้เกิดกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเป็นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในการดำรงชีวิต แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยหลัก 3 ประการ ประกอบด้วย (1) ความพอประมาณ (2) ความมีเหตุผล (3) ภูมิคุ้มกัน และ 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย (1) เงื่อนไขความรู้ (2) เงื่อนไขคุณธรรม มีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการเป็นผู้ที่มีความตระหนักเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ และมีสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) มุ่งให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเป็นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในการดำรงชีวิต  2.วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเสริมความตระหนักเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ผู้เรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และชุมชน  2) เพื่อสร้างเสริมสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา  3.เนื้อหา สาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาทุกระบบเพื่อปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมที่ถูกต้องในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักในสิทธิหน้าที่ในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ดังหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โดยมีการบูรณาการการจัดสาระการเรียนรู้ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้ (1) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสาระที่ 1 2 5 6 และ 8  (2) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในสาระที่ 3 และ 5 (3) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในสาระที่ 1  4.แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 1) การเรียนรู้แบบโครงงาน 2) การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย 3) การฝึกคิด แบบฝึกสืบสาวหาเหตุปัจจัย (หนึ่งในวิธีเรียนแบบโยนิโสมนสิการ) 4) การสำรวจชุมชน เพื่อเรียนรู้ถึงสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ด้วยกระบวนการแผนที่คนดี “people mapping” 5) การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง มิใช่เรียนในตำราหรือจำลองเหตุการณ์ 6) การเรียนรู้ที่ได้มีการสะท้อนกลับ (reflect) ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งเหตุการณ์ ความคิด และความรู้สึก 7) การฝึกเสียสละที่ไม่หวังผล ฝึกเป็นผู้บริหาร ผู้นำ ผู้ตาม 8) การเรียนรู้กันเอง ผ่านการคิดร่วมกัน ไม่แบ่งวัย เพศ ชนชั้น สถานะทางเศรษฐกิจ มีกลุ่มที่รวมกันแบบสมัครใจ เสวนากันอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีองค์ความรู้ กระบวนวิธี มีอำนาจต่อรองหน่วยอื่นๆ ของสังคม โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์รวมให้เกิดทั้งสามฐาน ดังนี้ (1) ฐานใจ ใช้นำเพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการเคาระกฎกติกา ยอมรับมติ มีหัวใจประชาธิปไตยและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและ/หรือป้องกัน เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม (2) ฐานคิด เน้นความมีเหตุผล และรับฟังผู้อื่น (3) ฐานปฏิบัติและ/หรือทำ เน้นให้เกิดการปฏิบัติและ/หรือทำด้วยการเคารพกฎ การรับฟังผู้อื่น การยอมรับมติ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เคารพในสิทธิและเสรีภาพผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและ/หรือป้องกัน เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม  5. การวัดและประเมินผล 5.1) ความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ  5.2) สมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การนำรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในประเทศไทยต้องใช้ควบคู่กับการบังคับใช้เป็นกฎหมาย ผู้นำปฏิบัติควรจะต้องเริ่มที่ระดับผู้นำนโยบาย ให้นโยบายและกำกับติดตามนำการศึกษาที่มุ่งสร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวนโยบายในการจัดการศึกษาทุกระดับต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกิดผลลัพธ์ต่อความยั่งยืน  2. การนำรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปสู่การปฏิบัติ ควรดำเนินการแบบมีส่วนร่วมแบบรับผิดชอบร่วมกันโดยความร่วมมือของกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ และสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และกระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญในการนำปฏิบัติแบบมีภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานระดับนโยบาย ได้แก่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมกับกระทรวงศึกษาธิการกำกับการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ทั้งโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกชน และการศึกษานอกระบบ  3. การนำรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปสู่การปฏิบัติ ควรเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมหรือเป็นแกนหลักสำคัญกับภาคการศึกษา เพื่อต่อยอดการให้การศึกษาที่สร้างความตระหนักในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพสู่ชุมชน  ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบแนวทางไปปฏิบัติ 1. การนำรูปแบบแนวทางไปปฏิบัติจะต้องมุ่งส่งเสริมให้เกิดความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ยึดหลักการจัดการศึกษาที่เน้นให้เกิดกระบวนการคิดและกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเป็นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในการดำรงชีวิตแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ด้วยหลัก 3 ประการ และ 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล 3) ภูมิคุ้มกัน โดยมีเงื่อนไขของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้ 1) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ และ 2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการเป็นผู้ที่มีความตระหนัก เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ และมีสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และมุ่งให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ 2. การนำรูปแบบแนวทางไปสู่การปฏิบัติ วิชาการของสถานศึกษาและครูควรเริ่มจากการวิเคราะห์บริบท วิเคราะห์ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม กำหนดประเด็นการพัฒนาให้ชัดเจน จากนั้นออกแบบบทเรียนที่มุ่งส่งเสริมความตระหนักเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ และสมรรถนะการเป็นพลโลกที่ดีด้านการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม นำไปจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน และชุมชนให้บรรลุตามเป้าหมาย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้
     กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานส่วนภูมิภาค และสถานศึกษา
ระดับการศึกษา
     ประถมศึกษา+มัธยมศึกษาตอนต้น+มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระบบการศึกษา
     การศึกษาในระบบ
รองรับประเด็น
     ระบบการจัดการเรียนรู้
ประโยชน์ที่มีต่อผู้เรียน
     ทุกด้าน

สรุปผลการวิเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ 5 ประเด็น 4.6
แผนแม่บท 18 แผนย่อย 3.5 แนวทางการพัฒนา 1)
แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง ไม่สามารถระบุได้ ประเด็น ไม่สามารถระบุได้ 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ย.4
แผนการศึกษาแห่งชาติ ย.5 แนวทางการพัฒนา 5.2

เอกสาร
       ดาวน์โหลดเอกสาร


เชื่อมโยงงานวิจัยกับแผนสำคัญของประเทศ
      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
            6.ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศ
      แผนย่อยของแผนแม่บท 18 การเติบโตอย่างยั่งยืน
            3.5 แผนย่อยการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
            ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
            ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม